กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
เว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้
font size small font size normal font size big
หน้าแรก
Search


ข่าวสาร >> บทความ >> รู้ไว้ใช่ว่า
รู้ไว้ใช่ว่า...ตอน มรดกวัฒนธรรมภาคใต้ “ศิลปหัตถกรรม”

วันที่ 4 ก.พ. 2565
 

     ภาคใต้มีงานศิลปหัตถกรรม งานช่างฝีมืออันเกิดจากภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง หลากหลายประเภท เช่น เครื่องถม เครื่องจักสานย่านลิเภา ผ้า เรือกอและ ฯลฯ
 
     เครื่องถม เป็นหนึ่งในศิลปหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยช่างถม นำภาชนะโลหะหรือเครื่องประดับมาวาดลวดลายลงไปบนผิว แล้วสลักลวดลายโดยเอากรดกัดส่วนช่องไฟระหว่างลายให้ลึกลงเป็นร่อง ผลิตภัณฑ์ที่ทำสำเร็จจึงได้ชื่อว่า "เครื่องถม” จากนั้นจึงนำไปเผาไฟ แล้วเอาเงินหรือทองมาบดละเอียดเป็นผงผสมกับปรอท เผาให้หลอมละลาย แล้วจึงทาลงบนชิ้นงานนั้น นำมาขัดแล้วทำซ้ำ คือทาแล้วขัดอีกหลาย ๆ ครั้ง จนเงางามเป็นที่พอใจ ซึ่งถ้าทำด้วยเงิน เรียกว่า "ถมเงิน” ถ้าทำด้วยทอง เรียกว่า "ถมทอง” และถ้าทำด้วยทั้งเงินและทอง เรียกว่า "ถมปรักมาศ” ซึ่งคำว่า "ปรัก” หมายถึง เงิน ส่วน "มาศ” หมายถึง ทอง
 
     "เครื่องถมนคร” ที่ทำในเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเครื่องถมคุณภาพดีและฝีมือประณีต งดงามที่สุดในปัจจุบัน มีการเรียนการสอนสืบทอดอยู่ที่วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช เดิมคือ "โรงเรียนช่างถม” ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ โดยท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนี (ม่วง) ขณะเป็นเจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช เพราะเล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาช่างถมและตระหนักว่า หากไม่อนุรักษ์ไว้ ต่อไปในภายภาคหน้าศิลปกรรมแขนงนี้อาจจะสูญหายไป จึงได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นโดยจ้างครูมาสอน โดยบริจาคเงินนิตยภัต (เงินงบประมาณแผ่นดินที่ใช้อุปถัมภ์พระได้รับพระราชทานสมณศักดิ์) ของท่าน ให้เป็นเงินเดือนแก่ครูและอุปถัมภ์โรงเรียนนี้มาโดยตลอด
 
     >>> มรดกวัฒนธรรมภาคใต้ "ศิลปหัตถกรรม” ชมภาพพร้อมคำบรรยาย คลิก  www.culture.go.th/ewtadmin/ewt/culture_th/images/akasit/040265a.pdf  
 
ที่มา : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม หนังสือมรดกวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๖๒
ลิขสิทธิ์ของ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม สำหรับใช้ประโยชน์เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและการศึกษา
นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเว็บไซต์ | การปฏิเสธความรับผิด (Disclaimer)