กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
เว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้
font size small font size normal font size big
หน้าแรก
Search


ข่าวสาร >> บทความ >> รู้ไว้ใช่ว่า
รู้ไว้ใช่ว่า…ตอน เครื่องประดับเงิน “ดาราอั้ง” สู่ความร่วมสมัย ดึงเม็ดเงินเข้าท้องถิ่น

วันที่ 13 พ.ย. 2563
 

     ชนเผ่าดาราอั้ง หรือที่คนทั่วไปเรียกขานว่า "ปะหล่อง” หนึ่งในชนเผ่าของจังหวัดเชียงใหม่ มีศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน เดิมทีอพยพมาจากพม่า น่าสนใจตรงที่ว่า เป็นชนเผ่าที่ยึดถือคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด จะใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุขด้วยหลักธรรม ปราศจากอบายมุข มีวัดเป็นศูนย์กลาง จึงมีประเพณีพื้นบ้านที่เกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น เมื่อถึงวันสำคัญทางพุทธศาสนา ทุกคนล้วนแต่งกายด้วยชุดประจำเผ่า สวมเครื่องประดับเงินอย่างสวยงาม มีการฟ้อนรำ ร้องเพลง ทั้งที่วัดและลานหมู่บ้าน ถือเป็นชนเผ่าในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความโดดเด่นด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในหมู่นักท่องเที่ยว

 
     "ดาราอั้ง” มีความโดดเด่นที่ชุดประจำของชนเผ่า จะประดับตกแต่งร่างกายเสื้อผ้าด้วยเครื่องประดับเงินที่หลากหลาย อย่างมีอัตลักษณ์ ถึง ๖ ชนิด ได้แก่ ห่วงคอ ห่วงเอว กำไลข้อมือ แผ่นประดับหน้าอก พวงระย้าประดับเสื้อ และกระดุมเงินที่เงางาม อัตลักษณ์การแต่งกายนี้สื่อถึงความสะอาด ความบริสุทธิ์ แสดงความเป็นตัวตนของชนเผ่าดาราอั้ง นอกจากจะใช้ตกแต่งร่างกายให้สวยงาม ยังมีคุณค่าทางจิตใจ ความเชื่อ และเป็นมรดกตกทอดให้ลูกหลาน ทั้งยังบ่งบอกถึงตำแหน่ง สถานะทางสังคม ฐานะทางเศรษฐกิจของเจ้าของได้อีกด้วย
 
     ในการท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวเชียงใหม่จำนวนมากโดยเฉพาะชาวจีน นิยมเลือกซื้อสินค้าและของที่ระลึก โดยเฉพาะเครื่องประดับเงินของล้านนาจะเป็นตัวเลือกลำดับต้น ถ้ามีรูปแบบที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิติประจำวัน จึงมีแนวคิดในการประยุกต์รูปแบบเครื่องประดับเงินของชนเผ่าดาราอั้งในแบบดั้งเดิมพัฒนาให้มีความร่วมสมัย นำไปใช้งานได้ในชีวิตประจำวัด ตรงตามรสนิยมของนักท่องเที่ยว อันจะนำมาซึ่งรายได้สู่ท้องถิ่นและประเทศอย่างมหาศาล
 
     จากการศึกษารูปแบบเครื่องประดับเงินของชนเผ่าดาราอั้ง เพื่อเป็นแนวทางประยุกต์ใช้ในการออกแบบเป็นเครื่องประดับเงินร่วมสมัย (อ่านเนื้อหาฉบับเต็มเพิ่มเติม … http://www.culture.go.th/ewtadmin/ewt/culture_th/images/akasit/131163.pdf )
ลิขสิทธิ์ของ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม สำหรับใช้ประโยชน์เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและการศึกษา
นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเว็บไซต์ | การปฏิเสธความรับผิด (Disclaimer)