วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๙ เวลา ๑๘.๔๐ น. ณ เวทีกลาง ท้องสนามหลวง พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานมหกรรมรามายณะอาเซียนเฉลิมพระเกียรติ ในโครงการมหกรรมวัฒนธรรมอาเซียน ภายใต้งาน "ใต้ร่มพระบารมี ๒๓๔ ปี กรุงรัตนโกสินทร์” โดยมีนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมกล่าวรายงาน พร้อมด้วย พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา คณะทูตานุทูต หน่วยงานภาครัฐ ประชาชนและสื่อมวลชน ร่วมเป็นเกียรติจำนวนมาก ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวกระทรวงวัฒนธรรมกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๐-๒๔ เมษายน ณ บริเวณท้องสนามหลวง |
|
โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้นำศิลปะการแสดง การเล่นพื้นบ้าน และวิถีชีวิตของชุมชน มาให้ชม ณ ลานวิถีไทย ชมการแสดงพื้นบ้านไทย กิจกรรมบันเทิงที่แฝงไว้ด้วยสัญลักษณ์ อันเนื่องด้วยวัฒนธรรมและประเพณี สะท้อนวิถีชีวิตและความเชื่อของสังคมที่สืบทอดมาแต่โบราณ เช่น กระบี่กระบอง การละเล่นเสือกินวัว วิถีชีวิตชุมชนรัตนโกสินทร์ เป็นการจำลองวิถีชีวิตชุมชน ๑๑ ชุมชน ในกรุงเทพมหานคร ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน และมีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม อาทิ -ชุมชนบางลำพู การสาธิตการทำอาหารข้าวหมกไก่ และขนมไทย ขนมเบื้องไทย -ชุมชนเยาวราช มีสาธิตขนมบ๊ะจ่าง การเขียนพู่กันจีน การตัดกระดาษแบบจีน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีของดีจากชุมชนอื่น ได้แก่ -ชุมชนนางเลิ้ง บ้านบาตร -ชุมชนกุฎีจีน -ชุมชนบางไส้ไก่ -ชุมชนวัดจำปา -ชุมชนมอญบางกระดี่ -ชุมชนบ้านบุ ตรอกข้าเม่า -ชุมชนบ้านครัว -ชุมชนคลองแสนแสบ -ชุมชนคลองสาน และ การสาธิตการร้อยพวงมาลัย งานช่างฝีมือต่างๆ โดยวิทยาลัยในวังหญิงและวิทยาลัยในวังชาย ด้วย
และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ยังได้จัดกิจกรรมในส่วนของมหกรรมวัฒนธรรมอาเซียน ระหว่างวันที่ ๒๐-๒๔ เมษายน ๒๕๕๙ ณ สนามหลวง ได้แก่ |
|
|
-ครัวอาเซียน "ลิ้มรสอาหารอาเซียน” (ASEAN Kitchen "A Taste of ASEAN”) ประกอบด้วย
-การสาธิตและการปรุงอาหารควาว/หวานและขนม -นิทรรศการอาหารท้องถิ่นของประเทศอาเซียน และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารจากประเทศอาเซียน
-"ว่าวอาเซียน” (ASEAN Kites) ประกอบด้วย -นิทรรศการว่าวพื้นบ้านอาเซียน -การสาธิตการประดิษฐ์ว่าว และการจัดจำหน่ายว่าวและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ กิจกรรมภาพรวมของงาน "ใต้ |
|
|
การแสดงทางวัฒนธรรม ซึ่งได้มีการนำการแสดงถึงความเป็นไทยจากทุกภูมิภาคของไทยมาแสดงบนเวทีกลาง และเวทีย่อยทั้ง ๒ เวที อาทิ การแสดงโขน โดยกรมศิลปากร การแสดงดนตรีนาฏศิลป์ การแสดงลีลาส โดยวงสุนทราภรณ์ การแสดงคอนเสิร์ตศิลปินแห่งชาติ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ , ผ่องศรี วรนุช และการจัดจำหน่ายจำหน่ายของดีบ้านฉัน ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จาก ๗๖ จังหวัดทั่วประเทศ และ ๕๐ เขต กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่สะท้อนภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม กว่า ๕๐๐ บูธ |
|
|
ส่วนที่ ๒ การจัดงานมหกรรมวัฒนธรรมอาเซียน นำเสนอความหลากหลายทางวัฒนธรรมอันแสดงถึงอัตลักษณ์ของอาเซียน ประกอบด้วย ๙ กิจกรรม ได้แก่
๑.มหกรรมรามายณะอาเซียน ที่โรงละครแห่งชาติ จาก ๘ ประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจา คือ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และอินเดีย
๒.การแสดงแฟชั่นโชว์ "สานต่อผ้าอาเซียนเปลี่ยนภูมิปัญญาให้ร่วมสมัย”
๓.การจัดแสดง สาธิต และจำหน่าย "งานหัตถศิลป์ถิ่นอาเซียน”
๔.มุมถ่ายภาพกับ "เมืองจำลองอาเซียน”
๕.ครัวอาเซียน "ลิ้มรสอาหารอาเซียน” โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ที่บริเวณท้องสนามหลวง
๖.นิทรรศการและสาธิต "ว่าวอาเซียน”
๗.ภาพยนตร์คลาสสิกแห่งอาเซียน
๘.นิทรรศการ "รากแห่งวัฒนธรรมอาเซียน”
๙.การสัมมนา "อัตลักษณ์ร่วมในวรรณกรรมอาเซียน”
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|