เรื่อง : สุทัศน์ รุ่งศิริศิลป์
ภาพ : สายัณห์ ชื่นอุดมสวัสดิ์
ประเพณี "แห่มาลัยข้าวตอก”
พลังศรัทธาอันงดงามแห่งลุ่มแม่น้ำชี
ในสมัยพุทธกาลทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์สำคัญใดๆ เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ได้แก่ ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน และวันที่แสดงปฐมเทศนาประกาศพระธรรมจักร จะเกิดปรากฏการณ์ดอกมณฑารพบานและร่วงหล่นลงมายัง โลกมนุษย์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นดอกไม้ทิพย์ในสรวงสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ที่มีความสวยงามและมีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ
ปรากฏการณ์ดอกมณฑารพบานและร่วงครั้งสุดท้ายนั้น ในพระไตรปิฎกกล่าวว่าเกิดขึ้น ณ เมืองกุสินารา ถิ่นชมพูทวีป ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน โดยพระองค์ได้ตรัสกับพระอานนท์ในครั้งนั้นไว้ว่า "ดูกรอานนท์ ไม้สาละทั้งคู่ เผล็ดดอก บานสะพรั่งนอกฤดูกาล ร่วงหล่นโปรยปราย ลงยังสรีระของตถาคต เพื่อบูชา แม้ดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ ดอกมณฑารพเหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคต เพื่อบูชา แม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ จุณแห่งจันทน์เหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคต เพื่อบูชา ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่าก็ประโคมอยู่ในอากาศ เพื่อบูชาตถาคต แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ก็เป็นไปในอากาศเพื่อบูชาตถาคต”
ครั้นพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ทั่วทั้งสรีระ แห่งพระพุทธเจ้าล้วนประดับด้วยดอกมณฑารพ อันเป็นเครื่องบูชาที่ ชาวสวรรค์ใช้เพื่อแสดงความเคารพสูงสุด ขณะที่ทุกหนแห่งในเมือง กุสินาราเดียรดาษไปด้วยดอกมณฑารพ เป็นดั่งสัญลักษณ์ให้ผู้ตาม มาเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในภายหลังรับรู้ว่าพระพุทธองค์ปรินิพพาน ไปแล้วเมื่อได้เห็นดอกไม้นี้
ปัจจุบันไม่มีใครทราบว่าดอกมณฑารพสมัยพุทธกาลมี ลักษณะอย่างไร คล้ายคลึงกับดอกมณฑาซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับ พวกจำปา จำปี และยี่หุบ หรือไม่ แต่สำหรับพุทธศาสนิกชน ในบ้านเรา โดยเฉพาะในถิ่นอีสานยังคงมีความเชื่อเรื่องดอกไม้ ทิพย์จากสรวงสวรรค์ตามพระไตรปิฎก โดยแสดงให้เห็นในรูป ของงานประเพณีแห่มาลั ยอาทิประเพณีการแห่พวงมาลัยไม้ไผ่ ของชาวผู้ไทที่บ้านกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปีในช่วงวันแรม ๑๓-๑๔ ค่ำ เดือน ๙ โดย การนำไม้ไผ่มาเหลาแล้วสานให้เป็นรูปทรงคล้ายร่มแล้วนำมา ร้อยเข้าเป็นพวง เพื่อนำไปถวายเป็นพุทธบูชา
ขณะที่งานประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก หรือ งานบุญ พวงมาลัย ที่จัดอย่างยิ่งใหญ่ ณ ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร นับเป็นอีกงานประเพณีประจำปี ที่น่าสนใจ และน่าจะเรียกได้ว่าเป็นงานบุญที่มีพื้นฐานความเชื่อในการจัดงานที่สอดคล้องกับความเชื่อเรื่องดอกมณฑารพจากสรวงสวรรค์มากที่สุดในเมืองไทยเลยก็ว่าได้สะท้อนให้เห็นว่าพุทธศาสนาได้หยั่งรากลึกในลุ่มน้ำชีแถบนี้มาช้านาน จนน้ำไปสู่พิธีกรรมบูชาพระศาสดาที่พัฒนาไปเป็นงานประเพณีสำคัญในที่สุด
รูปแบบงานประเพณีแห่มาลัยข้าวตอกที่ปรากฏในปัจจุบัน คือ ขบวนแห่พวงมาลัยที่ทำจากเมล็ดข้าวตอกแตกจำนวนมากมา ร้อยเข้าเป็นสาย ให้ดูสวยงามบริสุทธิ์ดุจมวลบุปผาจากสรวงสวรรค์ เพื่อน้ำไปบูชาพระพุทธเจ้า โดยชาวบ้านจะนัดมารวมตัวกันที่ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอแต่เช้า เพื่อประกวดความสวยงาม ของมาลัยข้าวตอกของแต่ละชุมชน หลังจากตัดสิน มอบรางวัลกันแล้ว จึงเริ่มตั้งขบวนแห่อันงดงามตระการตา ไปทอดถวายมาลัยยังวัดสำคัญต่างๆ ในตัวอำเภอ อาทิ วัดฟ้าหยาด และวัดหอก่อง เป็นต้น
ขบวนแห่บุญพวงมาลัยจัดขึ้นในช่วงงานบุญเดือน ๓ ของทุกปี ตรงกับวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๓ หรือก่อนวันมาฆบูชา หนึ่งวัน อันเป็นส่วนหนึ่งของฮีตสิบสอง หรือจารีตประเพณี ประจำสิบสองเดือนของชาวอีสานที่ยึดถือปฏิบัติมาช้านาน ตามที่เคยปรากฏในคำกล่าวดั้งเดิมว่า ฮีตหนึ่งนั้นเถิงเมื่อ เดือนสามได้จงพากันจี่ข้าวจี่ ไปถวายสังฆเจ้าเอาแท้หมู่บุญ กุศลยังสิน้ำค้ำตามเฮามื้อละคาบ หากธรรมเนียมจังซี้มีแท้ แต่นาน ให้ทำไปทุกบ้านทุกที่เอาบุญพ่อเอย คองหากเคยมีมาแต่ ปางปฐมพุ้น อย่าพากันไลถิ้มประเพณีตั้งแต่เก่า บ้านเมืองเฮา สิเศร้าภัยฮ้ายสิแล่นตาม
ก่อนจะถึงวันบุญใหญ่แห่งปี ชาวบ้านในอำเภอมหาชนะชัย จะตระเตรียมข้าวตอกแตกจำนวนมากเพื่อน้ำมาร้อยมาลัย โดยน้ำ ข้าวเปลือกเหนียวพันธุ์ดั้งเดิมที่มีเมล็ดขนาดใหญ่และเป็นข้าวใหม่ มาคั่วด้วยไฟปานกลางในหม้อดินเผาบนเตาถ่าน แล้วเกลี่ยไปมา ด้วยก้านกล้วยอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้ข้าวเปลือกไหม้ดำ
เหตุที่ชาวบ้านไม่นิยมใช้ด้ามไม้หรือตะหลิวเกลี่ยข้าวเปลือก ร้อนๆ เนื่องจากก้านกล้วยมีความชื้นช่วยคุมอุณหภูมิให้เนื้อข้าว เหนียวค่อยๆ สะสมความร้อนจนขยายบานออกนอกเปลือก โดยไม่ไหม้ดำ นับเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาในการคั่วข้าวเปลือก ให้แตกได้เมล็ดพองสวย ทั้งยังต้องใช้คนคั่วที่เชี่ยวชาญด้วย
จากนั้นจึงน้ำข้าวตอกแตกคั่วใหม่ไปคัดแยกเปลือกข้าว โดยการฝัด(ร่อน) ในกระด้งเพื่อคัดเอาเฉพาะเมล็ดข้าวตอกแตก หรือข้าวพองสีขาวล้วนๆ หากเก็บข้าวตอกแตกที่ได้นี้อย่างดี โดยไม่ให้สัมผัสความชื้นในอากาศก็สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน ไม่เสียง่าย และถือกันว่าเป็นสิ่งมงคล บางครั้งใช้โปรยรวมกับ ดอกไม้และเงินทองเพื่อเป็นเคล็ดให้เกิดความรุ่งเรืองเฟื่องฟู ขยายออกได้เหมือนข้าวตอก
การเลือกใช้เมล็ดข้าวเปลือกมาทำเป็นมาลัยแทนดอกไม้ เนื่องจากแต่เดิมชาวชุมชนแถบนี้เชื่อว่าข้าวเป็นสิ่งมีคุณค่า การถวายเป็นพุทธบูชาจึงได้อานิสงส์และบุญกุศลมาก ดังพบ ว่ามีการถวายข้าวจี่เป็นพุทธบูชาอยู่แล้ว ส่วนการบูชาด้วย ข้าวตอกนั้นสันนิษฐานว่าในสมัยเริ่มแรกอาจเป็นเพียงการน้ำ ข้าวตอกแตกใส่พานไปบูชาพระแบบเรียบง่าย ก่อนจะพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการน้ำเสนออย่างสร้างสรรค์และงดงาม ขึ้นด้วยการน้ำไปร้อยเป็นพวงมาลัยขาวบริสุทธิ์ อุปมาดั่งมวล ดอกไม้จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อถวายแด่พระพุทธเจ้า ซึ่งต้อง อาศัยภูมิปัญญาในการประดิษฐ์และการสร้างสรรค์ที่ผ่านการ สืบทอดและสั่งสมมายาวนาน
ถ้าใครมีโอกาสไปร่วมงานบุญแห่มาลัยข้าวตอกของ ชาวอำเภอมหาชนะชัย คงได้ประจักษ์แก่สายตาว่ามาลัยข้าวตอก แต่ละพวงมีหลากหลายรูปแบบ ต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ ในการร้ อยเรียง หลักเบื้องต้นในการร้อยข้าวตอกให้ดูขาวบริสุทธิ์ และเมล็ดไม่แตก ต้องใช้เข็มขนาดเล็ก (เบอร์ ๙) และด้ายสีขาว (เบอร์ ๒๐) ร้อยเมล็ดข้าวตอกแตกทางด้านที่มีสีหมองหรือ อมเหลือง โดยนิยมร้อยติดต่อกันแบบอุบะ (ร้อยเข้าเป็นสายแล้ว เข้าพวงอย่างพู่แบบเดียวกับมาลัยดอกรักทั่วไป)
ส่วนรูปทรงของพวงมาลัยที่ชาวบ้านนิยมประดิษฐ์เพื่อน้ำ มาประกวดความสวยงามมี ๒ แบบหลักๆ คือ มาลัยแบบข้อ และ มาลัยแบบสายฝน ซึ่งมีรายละเอียดในลวดลายแตกต่างกันขึ้นอยู่ กับพลังศรัทธาและจินตนาการของผู้สร้างสรรค์ผลงาน (ปัจจุบันมี การทำมาลัยจิ๋ว ซึ่งมีลักษณะเหมือนมาลัยสายฝนทุกประการแต่ ย่อส่วนให้เล็กลง เพื่อใช้เป็นของฝากของที่ระลึกแด่ผู้มาเยือน)
มาลัยแบบข้อมีลักษณะตามชื่อเรียก คือการน้ำข้าวตอกแตก มาร้อยต่อกันเป็นสายแล้วมัดรวมเป็นข้อ มีลักษณะเหมือนน้ำ แท่งดอกข้าวตอกแตกหลายๆ อันมาผูกไว้ด้วยกันจนดูสวยเด่น
ส่วนมาลัยแบบสายฝนเป็นการร้อยข้าวตอกแตกด้วย เส้นด้ายยาว เมื่อน้ำหลายๆ เส้นมารวมเข้าด้วยกันก็กลายเป็น พวงมาลัยที่ประกอบด้วยเส้นข้าวตอกแตกจำนวนมาก พลิ้วไหว ตามกระแสลมได้ง่ายจนดูคล้ายกับสายฝน
สายมาลัยที่นำมาประกอบเข้าในพวงมาลัยข้าวตอกแตก มีความยาวแตกต่างกันไม่ต่ำกว่า ๓ ขนาด ความยาวโดยเฉลี่ย อยู่ที่ประมาณ ๓-๔ เมตร จำนวนสายจะมากน้อย เล็กหรือใหญ่ ขื้น อยู่กับพลังศรัทธาและความสามารถของผู้สรรค์สร้าง สายพวง มาลัยต่างขนาดเหล่านี้จะถูกน้ำมามัดเข้ากับกงไม้ไผ่ ซึ่งอาจทำขึ้นเป็นรูปวงกลมต่างขนาดซ้อนกัน หรือเป็นรูปกรอบไม้ไผ่ สามเหลี่ยม ๒ อันที่น้ำมาผูกไขว้ทับกันจนมีลักษณะเป็นดาว ๖ แฉก (คล้ายเฉลวหรือตาแหลวในงานจักสาน) กงไม้ไผ่เป็นส่วนสำคัญยิ่ง ในการขึ้น สายมาลัยข้าวตอก เพราะใช้เป็นที่มัดยึด สายมาลัยให้เกิดเป็นรูปทรงงดงามแบบต่างๆ ตามที่ต้องการ
การขึ้นสายตามโครงสร้างมาตรฐานนั้น มุมนอก ๖ มุม จะมัดสายมาลัยที่สั้นที่สุด มุมละ ๕-๙ สาย มุมใน ๖ มุม จะมัด สายมาลัยที่ยาวขนาดกลาง มุมละ ๕-๙ สาย ส่วนตรงกลาง เตรียมไว้สำหรับมาลัยพวงใหญ่และยาวที่สุดสายเดียว
เมื่อผ่านขั้นตอนการขึ้นสายจนได้รูปทรงมาลัยตาม ต้องการแล้ว ผู้สร้างสรรค์ยังสามารถต่อเติมลวดลายต่างๆ และประดับตกแต่ง สร้อยระย้า ให้ดูงดงามขึ้นอีก โดยการแต้ม เตมิ สีสันด้วยดอกไม้ประดิษฐ์ พู่สีสวย รวมไปถึงการผูกสายมาลัย ให้มีลวดลายสวยงามแปลกตาในแบบต่างๆ อาทิ ลายตาข่าย ลายเกล็ด ลายก้านสามดอก ลายกระเบื้อง ลายสี่ก้านสี่ดอก ลายดาวกระจาย ลายแก้ว ชิง ดวง ลายแมงมุม ลายดาวล้อมเดือน ลายวิมานแปลง หรือลายแบบอื่นๆ ตามแต่ฝีมือและความคิด สร้างสรรค์
ผลงานมาลัยข้าวตอกจากพลังศรัทธาภูมิปัญญา และงาน ฝีมือของชาวอำเภอมหาชนะชัยที่จัดแสดงให้ชมกันในงานบุญ พวงมาลัย ใหญ่ประจำปีนับเป็นอีก ความงดงามในวิถีวัฒนธรรม ของชาวถิ่นอีสานที่น่าสนใจ จนได้รับการส่งเสริมการท่องเที่ยว อย่างยิ่งใหญ่ให้เป็นอีกหนึ่งไฮไลต์นอกเหนือจากงานบุญบั้งไฟ ซึ่งสร้างชื่อให้กับจังหวัดยโสธรมาช้านาน หากมีโอกาสควรแวะไปร่วมงานจะได้ทั้งอิ่มบุญและประทับใจกับขบวนรถแห่พวงมาลัยข้าวตอกอันสวยงามในรูปแบบต่างๆ พร้อมเก็บภาพประทับใจของขบวนชาวบ้านที่ถือลำไม้ไผ่ยกพวงมาลัยข้าวตอกเหนือพื้นดินด้วยความรู้สึกเทิดทูนบูชาในสิ่งสูงค่าที่นำไปถวายเป็นพุทธบูชา ตามด้วยขบวนกฐินที่ประดับตกแต่งด้วยสิ่งของและปัจจัยไทยทาน
บรรยากาศในงานบุญก่อนวันมาฆบูชา ที่ตำบลฟ้าหยาดจึงเต็มไปด้วยความสวยงาม น่าตื่นตา และรื่นเริงสนุกสนานไปด้วยริ้วขบวนรำเซิ้ง ขับคลอด้วยเสียงพิณและกลองยาวตาม วิถีของชาวอีสาน แต่ที่โดดเด่นไม่เหมือนใครคงเป็นพวงมาลัยข้าวตอกจำนวนกว่าร้อยพวงที่เกิดจากพลังศรัทธาและภูมิปัญญาของชาวบ้าน ซึ่งมีให้ชมเฉพาะที่ตัวอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธรแห่งนี้เท่านั้น