วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๐
อาจารย์ประทีป สุขโสภา เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๖ เมษายน ๒๔๘๙ ที่ตำบลย่านยาว อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ปัจจุบันอายุ ๗๒ ปี ท่านเริ่มรับราชการเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ในตำแหน่งครูองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย และรับราชการเรื่อยมา โดยตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณอายุ ท่านเป็นรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษโรงเรียนหนองปลาหมอวิทยาคม สำนกงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต ๒
ในวัยเด็ก ขณะอายุประมาณ ๗ - ๘ ขวบ ท่านได้ไปเที่ยวงานลอยกระทงกับบิดาที่วัดสว่างอารมณ์ อําเภอสวรรคโลก ได้เห็นวณิพกคนหนึ่งใช้กรับชนิดกลมสองคู่และใช้เท้าตีฉิ่งกํากับจังหวะ พร้อมกับการขับขาน นิทานพื้นบ้านสารพัดเรื่อง มาทราบภายหลังว่าคนผู้นั้นคืออดีตพ่อเพลงคนหนึ่ง ซึ่งเคยเล่นอยู่ในวง "ขุนแก่ง เดือยไก่" เป็นพ่อเพลงที่โด่งดังมากของชาวสวรรคโลก เมื่อขุนแก่งเสียชีวิตไปแล้ว แกจะออกไปเล่นวณิพกเพื่อนํา เงินไปทําบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับขุนแก่งปีละครั้งเสมอมา การขับทํานองเพลงประกอบการตีกรับ อย่างคล่องแคล่วและสนุกสนานของวณิพกคนนั้น ทําให้ ด.ช.ประทีป (ขณะนั้น) เกิดความประทับใจเป็นอย่างยิ่ง สามารถจําคําร้อง ทํานอง วิธีเล่น แล้วนํามาฝึกหัดได้ อย่างชํานาญ แม้จะถูกมองจากคนบางกลุ่มว่าเป็นของคนชั้นต่ํา แต่ด.ช.ประทีปกลับมองเห็นว่าเป็น "ศิลปะ ชั้นยอด"
เมื่ออายุ ๙ ขวบ ได้หัดเป่าขลุ่ยและหีบเพลงปากได้ด้วยตนเอง จนเมื่อขึ้นชั้น ม.๑ ที่โรงเรียน สวรรควิทยา เริ่มฝึกหัดเครื่องดนตรีสากลและดนตรีไทยกับครูวิเชียร กงเรือ แม้ว่าบิดามารดาจะไม่ต้องการให้ เล่นเนื่องจากกลัวเสียการเรียน แต่ท่านก็แอบหนีไปฝึกหัดโดยไม่ให้รู้อยู่เป็นประจําจนกระทั่งสามารถเล่นร่วมกับ รุ่นพี่ และได้ออกแสดงร่วมกับวงดนตรีทั้งไทยและสากล และเป็นกองเชียร์รําวง ตลอดทั้งงานแห่ต่างๆ มาตลอด ระยะเวลากว่า ๒๐ ปีและในทุกวันปิดภาคเรียน ท่านจะออกหารายได้ด้วยการขายไอศกรีมทั้งเดินและขี่จักรยาน ตระเวนไปตามหมู่บ้านต่างๆ ทําให้ได้พบเห็นการละเล่นพื้นบ้านนานาชนิด เมื่อมีงานบุญหรืองานนักขัตฤกษ์เป็น ประสบการณ์ที่มีค่ายิ่ง
ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๐๙ ท่านได้เข้ารับราชการ และก็ยังคงเล่นทั้งดนตรีไทย และสากล โดยออกตระเวน เล่านิทานเพื่อสร้างห้องสมุดตามหมู่บ้าน สอนนักเรียน และฝึกหัดชาวบ้านเล่นเพลงพื้นบ้านอยู่เสมอ จึงเกิด ความคิดที่จะอนุรักษ์และฟื้นฟูเพลงพื้นบ้านบางอย่างที่สญหายไปแล้วเช่น เพลงขอทานให้กลับมาอีกครั้ง
ในปีพ.ศ. ๒๕๓๐ ท่านได้เริ่มแสดงเพลงพื้นบ้านในเชิงอนุรักษ์อย่างจริงจัง โดยสืบค้นหาบทร้องเก่าๆ จากพระภิกษุและชาวบ้าน ได้ครบทั้งเพลงและได้เป็นบางส่วนแล้วนํามาแต่งต่อเติม หรือแต่งเองทั้งหมด จากนั้น ได้ฝึกหัดร้องเพลงแหล่ทํานองต่างๆ กับ ท่านพระครูบําเหน็ด (ปัจจุบันเป็นพระสุนทรธรรมาภรณ์) ซึ่งเป็นพระ นักเทศน์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังและได้เพลงมาจากขอทานโดยอาชีพ คือ ยายสําอาง เลิศถวิล ได้ขอเป็นศิษย์ของ หวังเต๊ะ และนายโซะ เขี้ยวแก้ว สองพ่อเพลงที่เคยประชัยกันมาหลายครั้ง และขอเป็นศิษย์ของ ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ซึ่งเป็นครูเสภาชั้นยอด ในการแสดงส่วนใหญ่จะใช้ทํานองพื้นบ้านเป็นบทร้อง และใช้กรับ ชนิดกลมสองคู่ ประกอบเป็นเครื่องกํากับจังหวะ ต่อมาเพิ่มเครื่องดนตรี ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง ตะโพน ซออู้และ ระนาดเอก รวมเป็นคณะเรียกการแสดงนี้ว่า
ตีกรับขับทํานอง
ในด้านผลงานและเกียรติคุณที่อาจารย์ประทีปได้รับ ได้แก่
- ได้รับพระราชทานโล่รางวัลหนังสือดีเด่นเรื่อง "ของเล่นเดินทาง" ปีพ.ศ. ๒๕๓๒
- ได้รับพระราชทานโล่รางวัล "ผู้มผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมสาขานันทนาการ" ปีพ.ศ. ๒๕๓๕
- ได้รับพระราชทานเข็มเกียรติคุณผู้อนุรักษมรดกไทย ปีพ.ศ. ๒๕๓๖
- ได้รับประกาศเกียรติคณุ "ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม" ปีพ.ศ. ๒๕๓๘
- ได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติครูผู้มีจรรยามารยาทดีเด่น "เข็มคุรุสดุดี" ปีพ.ศ. ๒๕๔๑
- ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ "ศิลปินดีเด่น" สาขาศิลปะการแสดงจงหวัดสุโขทัย ปีพ.ศ. ๒๕๔๓
- ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ "ปราชญ์พื้นบ้าน " สาขาศิลปวัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัย ปีพ.ศ. ๒๕๔๓
- ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ "ผู้มีคุณธรรมจริยธรรมดีเดน่ " ปีพ.ศ. ๒๕๔๕
- ได้รับโล่เกียรติคุณ "ผู้ทําประโยชน์เพื่อสังคมและประเทศชาติด้านการศึกษา" ปีพ.ศ. ๒๕๔๖
- ได้รับโล่รางวัล "วัฒนธรรมสยาม" สาขาภาษาและวรรณกรรมทางเพลงพื้นบ้าน ปีพ.ศ. ๒๕๔๖
- ได้รับคัดเลือกเป็น "ศิลปินร่วมสมยั" จังหวัดสุโขทัย ปีพ.ศ. ๒๕๔๗
- ได้รับคัดเลือกเป็น "ศิษย์เก่าดีเด่น" ของมหาวิทยาลัยนเรศวร ปีพ.ศ. ๒๕๔๙
- ได้รับคัดเลือกเป็น "รองผู้อานวยการดีเด่น" ปีพ.ศ. ๒๕๔๙
- ได้รับปริญญา "ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชา ภาษาไทย" จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ พิบูลสงครามพิษณุโลก
ปีพ.ศ. ๒๕๕๑
- ได้รับเชิญไปแสดงหน้าพระที่นั่ง ๘ ครั้ง ประเทศออสเตรเลีย ๔ ครั้ง ประเทศอังกฤษ ๕ ครั้ง สหรัฐอเมริกา ๑๓ ครั้ง
- ได้รับเชิญไปแสดงและเป็นวิทยากร กว่า ๑,๘๐๐ ครั้ง
- ได้ประพันธ์บทร้อยกรอง ทานองพื้นบ้าน กว่า ๓๕๐ เรื่อง
- อนุรักษ์การตีกรับสองคู่ชนิดกลม ที่สูญหายไปกว่า ๔๐ ปีได้อย่างชํานาญยิ่ง
- ในการแสดงหรือเป็นวิทยากรทุกครงั้ ไม่เคยเรียกร้องค่าตอบแทนใดๆทั้งสิ้น เมื่อมีผู้บริจาคจะนําไปซื้อ อุปกรณ์การศึกษา
หรือสร้างสาธารณกุศลมาโดยตลอด
เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๐ คณะเจ้าหน้าที่กองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม นำโดยนางสาวชริดา สังข์ทอง
ผู้อำนวยการกองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม นางสาวธนะจิตร สอนคม ผู้อำนวยการกลุ่มสวัสดิการศิลปินแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม และผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม พร้อมเจ้าหน้าที่ ได้เดินทางไปเยี่ยม อาจารย์ประทีป สุขโสภา
ที่บ้านพักในอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
|