กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
กองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
 

ข่าวสาร >> โครงการ ปี ๒๕๖๑ >> โครงการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับศิลปินแห่งชาติ
เยี่ยมบ้านนายวิบูลย์ อินทร์คล้าย ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาการพัฒนาคุณภาพชีวิต พุทธศักราช ๒๕๓๔

วันที่ 12 ธ.ค. 2560

วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๐ 

          นายวิบูลย์ อินทร์คล้าย เกิดเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ ที่จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันอายุ ๗๑ ปี (นับถึง พ.ศ. ๒๕๖๐) เป็นเกษตรกรผู้ทําการเกษตรแบบผสมผสานที่ให้ผลผลิตสูงสุด โดยใช้หลักการปรับปรุงวัฒนธรรม ด้านการเกษตรพื้นบ้านมาผสมผสานกับหลักวิชาการสมัยใหม่ อันเป็นลักษณะการทํางานแบบปราชญ์ชาวบ้าน อย่างแท้จริง ปัจจุบันไร่นาและสวนผสมเนื้อที่ ๒๑ ไร่ของนายวิบูลย์ อินทร์คล้าย เป็นเนื้อที่ที่ปราศจากสารเคมี ใดๆ การจัดระบบต่างๆ เน้นวิธีทางธรรมชาติอันเป็นวิถีชีวิตชาวบ้าน เมื่อประกอบกับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆ ที่ได้นํามาทดลองใช้จึงทําให้ไร่นาสวนผสมดังกล่าวให้ประโยชน์สูงสุด นับเป็นเกษตรกรที่ ประสบความสําเร็จในอาชีพ ได้รับยกย่องให้เป็นเกษตรกรดีเด่นทั้งในระดับประเทศ ต่างประเทศ และระดับ เอเชีย นายวิบูลย์ อินทร์คล้าย
ได้อุทิศตนเป็นวิทยากรบรรยายเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์แห่งความสําเร็จ แก่เกษตรกร ตลอดจนผู้สนใจทั่วประเทศมาโดยตลอด ทั้งยังอุทิศบ้านของตนเป็นแหล่งวิทยาการสําหรับนักเรียน นักศึกษา เกษตรกร และผู้สนใจจํานวนมากได้ศึกษาดูงาน และฝึกงาน บ้านของนายวิบูลย์ อินทร์คล้าย จึงเป็น แหล่งวิทยาการทางการเกษตรอันมีค่ายิ่งของจังหวัดพิษณุโลก
นับว่าเป็นเกษตรกรผู้อุทิศตนเพื่อพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของเพื่อนร่วมอาชีพในสังคม อันเป็นการยกระดับฐานะของเกษตรกรอย่างเห็นได้ชัด นับเป็นแบบอย่างที่ดี ของสังคม นายวิบูลย์ อินทร์คล้าย จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาการพัฒนาคุณภาพชีวิต พุทธศักราช ๒๕๓๔

          เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๐ คณะเจ้าหน้าที่กองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม นําโดยนางสาวธนะจิตร สอนคม ผู้อำนวยการกลุ่มสวัสดิการศิลปินแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม และผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม พร้อมเจ้าหน้าที่ได้เดินทางไปเยี่ยมนายวิบูลย์ อินทร์คล้าย หรืออาจารย์วิบูลย์ที่บ้านพักในอําเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก

          สําหรับหลักในการทําการเกษตรของท่านนั้น ท่านยึดหลัก "ฟางต้นเดียวไม่ทิ้ง” ท่านใช้ประโยชน์จาก สิ่งที่มีอย่างคุ้มค่า ท่านได้นํามูลของไก่มาทําปุ๋ยในการปลูกพืช โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีไม่ใช่สารเคมีในการทําการเกษตร โดยอาจารย์วิบูลย์นั้น ถือเป็นคนแรกของประเทศไทยที่เป็นผู้คิดค้นปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยชีวภาพจากมูลไก่ และด้วยเป็นคนขยัน

          ปัจจุบันนอกจากอาชีพเกษตรกรรมแล้ว ท่านยังใช้เวลาว่างในการประดิษฐ์ว่าวเพื่อจําหน่ายเป็นรายได้เสริม โดยท่านได้คิดค้นการนําทางมะพร้าวมาทําว่าว ทุกวันนี้ว่าวทางมะพร้าวของท่านเป็น ที่นิยมของตลาด และผู้นิยมเล่นว่าวเป็นอย่างมาก ถือเป็นกีฬาพื้นบ้านไทยที่ควรมีการอนุรักษ์ไว้ไม่ให้สูญหาย ผู้สนใจสามารถติดต่อสั่งซื้อหรือสั่งทําว่าวจากอาจารย์วิบูลย์ได้โดยตรงที่บ้านเลขที่ ๗๕ หมู่ที่ ๓ ซอยหนองช้างตาย ถนนวัดโบสถ์-นาขาม ตําบลท่างาม อําเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ๖๕๑๖๐

ลิขสิทธิ์ของ กองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ๑๔ ถนนเทียมร่วมมิตร เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐ 
E-mail : culturalfund@culture.mail.go.th โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๗ ๐๐๑๓-๑๖ ต่อ ๑๔๐๔-๕