
จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านภูผักไซ่ อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของการสร้างโอกาส ความท้าทายที่ได้เอาลักษณะอันโดดเด่นและอัตลักษณ์เฉพาะของลวดลายบนผืนผ้า มาสร้างสรรค์มูลค่าเพิ่มจากการเล่าเรื่องของกลุ่มทอผ้า จนค้นพบว่า ลายของผ้าโบราณที่โดดเด่น คือ ลายหมี่ครัว จำนวน ๑๒ ลาย มาพัฒนาผ้าลายโบราณนี้ ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มให้เป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งยังคงเอกลักษณ์ความโดดเด่นไว้
ในการศึกษา พลังสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมกับแนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าทอลายโบราณ : โอกาสและความท้าทาย จะเห็นได้ว่า การต่อยอดพลังภูมิปัญญาที่ท้องถิ่นหรือที่ชุมชนมีอยู่แล้วในมิติวัฒนธรรม ผ้าทอลายโบราณสามารถสร้างสรรค์ให้เป็นผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มได้ ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้นในเชิงพาณิชย์ จากการพัฒนาด้วยนวัตกรรมบวกกับความเข้มแข็งจากภายในของกลุ่มทอผ้าเอง จังทำให้เกิดการขับเคลื่อนไปในทิศทางและตรงตามเป้าหมายของกลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าทอลายโบราณนี้ ได้ ๕ แนวทาง ได้แก่ -การปรับลดจำนวนลายลงเพื่อความรวดเร็วในการทอ -ปรับวิธีการผลิตใหม่โดยให้มาใช้วัตถุดิบแบบดั้งเดิมไม่ใช้วัสดุสังเคราะห์และย้อมด้วยสีธรรมชาติเพื่อเพิ่มมูลค่า -พัฒนาลายใหม่ที่โดดเด่นสร้างเอกลักษณ์เฉพาะ -พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีประโยชน์ใช้สอยที่หลากหลาย และสร้างตราสัญลักษณ์ให้กับสินค้าให้เป็นที่จดจำ ที่สำคัญการพัฒนาหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ นี้ต้องยังคงรักษาไว้ซึ่งความเป็นตัวตนของท้องถิ่นรวมถึงภูมิปัญญาของผ้าทอลายโบราณ
อ่านเนื้อหารายงานการวิจัยฉบับเต็ม >>> http://www.culture.go.th/ewtadmin/ewt/culture_th/images/akasit/080163b.pdf