กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
เว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้
font size small font size normal font size big
หน้าแรก
Search


ข่าวสาร >> บทความ >> อาเซียน
มานิ (ซาไก) ลมหายใจในผืนป่า

วันที่ 4 มี.ค. 2563
 

ข้อมูลทางโบราณคดีเชื่อว่า มานิ (ซาไก) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากว่าหมื่นปี มีรูปร่างผอมมีผิวดำ ฝีปากหนา ท้องป่อง น่องสั้นเรียว ผมหยิกเป็นก้นหอยติดศีรษะ อยู่ในชาติพันธุ์นิกรอยด์ หรือเนกริโต (Nigro - itos) มาจากภาษาสเปน แปลว่า "นิโกรเล็ก" อยู่กระจายกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ราว ๗-๖๐ คน มีอาศัยในรัฐเกอดะฮ์ประเทศมาเลเซีย ในส่วนลึกของเกาะปาปัว ในประเทศฟิลิปปินส์ และหมู่เกาะอันดามัน ประเทศอินเดีย เรียกตนเองว่า "มานิ” (Mani) ส่วนผู้อื่นเรียกว่า เงาะ เงาะป่า ชาวป่า ซาไก หรือ โอรัง อัสลี (Orang Asli) หรือ กอย
 
เคยมีข้อสันนิฐานเกี่ยวกับชาติพันธุ์ว่ามนุษย์ในกลุ่ม Nigro-itos นี้เดินทางออกจากทวีปแอฟริกามาก่อนโฮโมซาเปี้ยนในปัจจุบัน มีลักษณะใกล้เคียงกับมนุษย์บนเกาะปาปัว-ปาปัวนิวกินี รวมถึงเผ่าอะบอริจิ้นในประเทศออสเตรเลีย ในประเทศออสเตรเลียเคยวิจัยไว้ว่าเผ่าอะบอริจิ้นได้แยกกลุ่มออกมานานแล้ว หมายความถ้าข้อสันนิฐานนี้เป็นจริง มนุษย์ในกลุ่ม Nigro-itos ทั้งในทวีปเอเชียและออสเตรเลียจะอาศัยอยู่มานานไม่ต่ำกว่า ๔๐,๐๐๐ ปี
 
ในต่างประเทศเช่น ประเทศมาเลเซียเรียกประชากรกลุ่มนี้ว่า "Semang" ในปี ๒๐๐๒ มีการสำรวจประชากรอยู่ที่ ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ คน และปัจจุบันคาดว่าอยู่ที่ ๔,๕๐๐-๕๐๐๐ คน
 
มานิ (ซาไก) ในประเทศไทยอาศัยอยู่ในป่าบริเวณเทือกเขาบรรทัด ในเขตจังหวัดตรัง สตูล และพัทลุง เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของมานิคือวัฒนธรรมแบบหาของป่า-ล่าสัตว์
ลิขสิทธิ์ของ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม สำหรับใช้ประโยชน์เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและการศึกษา
นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเว็บไซต์ | การปฏิเสธความรับผิด (Disclaimer)