กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
เว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้
font size small font size normal font size big
หน้าแรก
Search


ข่าวสาร >> บทความ >> อาเซียน
ซีละ ยุทธศิลป์ถิ่นมลายู

วันที่ 5 พ.ค. 2563
 
 
     ซีละ เป็นหนึ่งในศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวอันเก่าแก่ที่แพร่หลายในกลุ่มชาวมุสลิม ทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบริเวณ ๕ จังหวัดปลายด้ามขวานของไทย การต่อสู้แบบซีละนี้มีมาตั้งแต่ ๔๐๐ ปีที่แล้ว โดยกำเนิดขึ้นที่เกาะสุมาตราและแพร่หลายไปพร้อมกับการขยายตัวของศาสนาอิสลาม ซีละมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามความนิยมของท้องถิ่น เช่น สิละ ศิละ ดีกา บือดีกา หรือศีลัท
 
     พื้นฐานการต่อสู้แบบซีละคือการรำต่อสู้ด้วยมือเปล่า เน้นลีลาการเคลื่อนไหวอย่างสง่างาม เดิมฝึกไว้ใช้ในการศึกสงคราม จึงมีการใช้ควบคู่กับอาวุธ เช่น กริช และกระบี่ ต่อมาเมื่อวิทยาการด้านอาวุธยุทโธปกรณ์เจริญก้าวหน้า ความสำคัญของการต่อสู้แบบซีละในการสงครามจึงลดน้อยลง จนกลายเป็นกีฬาที่เล่นกันเพื่อการออกกำลังกาย รวมถึงเป็นการแสดงศิลปะการป้องกันตัวใน
 
     ปัจจุบันที่เน้นกระบวนการต่อสู้ด้วยท่วงท่าทะมัดทะแมง พร้อมอวดลีลาการร่ายรำ แสดงความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อแขน ขา ประกอบกับท่วงทำนองเพลงช้าเร็วที่บรรเลงขณะทำการแสดง ปัจจุบันเราจะได้เห็นซีละ แสดงกันในงานฮารีรายอ (วันรื่นเริงประจำปีของชาวมุสลิม) พิธีเข้าสุหนัต พิธีแต่งงาน งานประเพณีแห่นก งานประจำปีหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว รวมทั้งงานพิธีการต่าง ๆ เช่น พิธีต้อนรับแขกผู้ใหญ่
ลิขสิทธิ์ของ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม สำหรับใช้ประโยชน์เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและการศึกษา
นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเว็บไซต์ | การปฏิเสธความรับผิด (Disclaimer)