กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
เว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้
font size small font size normal font size big
หน้าแรก
Search


ข่าวสาร >> บทความ >> อาเซียน
บาติก วัฒนธรรมบนผืนผ้า

วันที่ 20 พ.ค. 2563
 

 
     เครื่องนุ่งหุ่มคือหนึ่งในปัจจัยสี่ ที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสิ่งทออันเป็นเอกลัษณ์ ด้วยสีและลวดลายที่แฝงไว้ด้วยความหมายเชิงสัญลักษณ์ ลวดลายบางอย่างใช้ในโอกาสงานเฉลิมฉลองหรือพิธีกรรมทางศาสนา บางลายเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงอำนาจหรือสถานะของผู้สวมใส่ เช่น ผ้าที่ตกแต่งอย่างประณีตสวยงามด้วยดิ้นทองหรือแผ่นทองอันสื่อความหมายถึงความมั่งคั่ง ผ้าที่งดงามและเต็มไปด้วยเรื่องราวที่กล่าวถึงนี้คือ "ผ้าบาติก”
 
     บาติก เป็นคำภาษามลายู เป็นกระบวนการย้อมผ้าฝ้ายที่เขียนลวดลายด้วยขี้ผึ้งอุ่น ๆ บนผืนผ้า และย้อมสีผ้าที่เหลือทั้งหมด โดยสีย้อมไม่อาจซึมเข้าไปในส่วนที่ฉาบทาขี้ผึ้งไว้ได้ เมื่อล้างออกขี้ผึ้งก็จะปรากฏเป็นลวดลายบนผืนผ้า
 
     กรรมวิธีนี้มีใช้กันมามากกว่า ๑,๐๐๐ ปีแล้ว หลักฐานทางประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า ผ้าที่ตกแต่งด้วยวิธีการมีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑ แพร่หลายในแอฟริกาและเอเชียกลางรวมทั้งพบตามแถบชายฝั่งโจฬะมณฑล หรือโดโรมันเดล ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย ซึ่งเป็นบริเวณหนึ่งที่มีการติดต่อค้าขายกับดินแดนที่เป็นอินโดนีเซียในปัจจุบัน พ่อค้าอินเดียซึ่งเดินทางเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์คงได้นำเอาผ้าบาติกเข้ามายังดินแดนแถบนี้ ก่อนที่กรรมวิธีบาติกจะได้รับการพัฒนาขึ้นในท้องถิ่นจนมีเอกลัษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว
ลิขสิทธิ์ของ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม สำหรับใช้ประโยชน์เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและการศึกษา
นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเว็บไซต์ | การปฏิเสธความรับผิด (Disclaimer)