ประวัติกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม ขึ้นใหม่ ได้โอนกรมศิลปากรอยู่กระทรวงศึกษาธิการ และให้กระทรวงวัฒนธรรม สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ไปเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ และให้โอนบรรดาข้าราชการและลูกจ้างสังกัดสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรมและกรมวัฒนธรรม ซึ่งมิได้ถูกสั่งให้ออกเพราะยุบตำแหน่งไปเป็นข้าราชการและ ลูกจ้างสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ส่วนบรรดาข้าราชการและลูกจ้างสังกัดสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งมิได้ถูกสั่งให้ออกเพราะยุบตำแหน่ง ให้โอนไปเป็นข้าราชการและลูกจ้างสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการเช่นเดียวกัน เมื่อโอนไปอยู่สำนักงานปลัดกระทรวงนั้น มีฐานะเป็นกองหนึ่งเรียกว่า กองวัฒนธรรม แบ่งออกเป็น ๖ แผนก คือ
ครั้น ถึงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๕ ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๑๗ ให้กองวัฒนธรรม โอนไปสังกัดกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๕ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๘ ในสมัย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งสำนัก นายกรัฐมนตรี ที่ ๒๒๐/๒๕๑๘ แต่งตั้งคณะกรรมการวัฒนธรรมไทยขึ้นคณะหนึ่ง ให้มีอำนาจหน้าที่ พิจารณาจัดตั้งสถาบันวัฒนธรรมแห่งชาติ เพื่อดำเนินการศึกษา ค้นคว้า ปรับปรุง รักษา ส่งเสริมเผยแพร่ และปลูกฝังวัฒนธรรมของชาติให้แก่ประชาชนและเยาวชน แต่ยังไม่ทันได้ดำเนินการอย่างไรก็เปลี่ยนรัฐบาล
ครั้น ถึงสมัยรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ วัฒนธรรมไทยขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน แต่ก็มีเหตุให้ต้องเปลี่ยนรัฐบาล การดำเนิน งานต้องหยุดชงัก จนถึงสมัยรัฐบาล พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ "พระราชบัญญัติสำนักงานคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๒๒" จึงได้ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๒ โดยกำหนด ให้มีคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ประกอบด้วยรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อธิบดีกรมการศาสนา อธิบดีกรมศิลปากร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินแปดคน ซึ่งรัฐมนตรี แต่งตั้งเป็นกรรมการ ให้เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้
เมื่อได้ตั้งสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติขึ้นแล้ว จำเป็นต้องมีสถานที่ทำการได้ไปอาศัยอาคาร สโมสรลูกเสือของกรมพลศึกษา ในบริเวณสนามกีฬาแห่งชาติเป็นที่ทำการชั่วคราว ต่อมาได้รับงบประมาณ สร้างสำนักงานขึ้นใหม่ ณ บริเวณศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง จึงได้ย้าย สำนักงานจากสนามกีฬาแห่งชาติมาอยู่ในที่แห่งใหม่นี้ และได้ประกอบพิธีเปิดป้ายสำนักงานคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๔ ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้เปลี่ยนสถานะมาเป็นกรมส่งเสริมวัฒนธรรม สังกัดภายใต้กระทรวงวัฒนธรรม ตาม พ.ร.บ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม โดยได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๓ และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๓
ในการนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ใช้ชื่อย่อว่า สวธ. และใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า " Department of Cultural Promotion : DCP " |