กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
เว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้
font size small font size normal font size big
หน้าแรก
Search


ข่าวสาร >> บทความ >> วัฒนธรรมประเพณี
การวิจัยข้ามวัฒนธรรม : ประสบการณ์ภาคสนามในการศึกษาชุมชนชาติพันธุ์

วันที่ 17 ส.ค. 2560
 
          การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยจากประสบการณ์ภาคสนามในการศึกษาชุมชนชาติพันธุ์ ซึ่งกล่าวถึง ธรรมชาติของการวิจัยข้ามวัฒนธรรม คุณสมบัติ บทบาทของนักวิจัย ข้อคิดบางประการ และสรุปองค์ความรู้จากการวิจัยข้ามวัฒนธรรม ดำเนินการวิจัยโดย รศ.ดร.สมศักดิ์ ศรีสันติสุข
 
          การวิจัยนี้ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้วิจัยกับผู้ถูกวิจัยอย่างต่อเนื่อง มีการติดต่อกันจนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ ทำให้ได้ข้อมูลที่มีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ โดยสามารถสรุปเป็นองค์ความรู้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจการวิจัยข้ามวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้
 
          พบว่า ภาษาพูด มีความสำคัญอย่างยิ่งในการสื่อสารกับกลุ่มชาติพันธุ์ ผู้วิจัยต้องเรียนรู้ภาษาพื้นฐานของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ จะทำให้สามารถสื่อความหมายและเกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยใช้วิธีอย่างเป็นทางการเข้าไปติดต่อกับชุมชนที่จะศึกษา และทำให้ชุมชนรู้ว่าจะเกิดประโยชน์กับตนเองอย่างไร การเก็บข้อมูลก็จะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากคนในชุมชนหรือในกลุ่มชาติพันธุ์นั้น
 
          และยังพบว่า เพื่อให้ชุมชนได้ทำการตรวจสอบ เพื่อจะได้ให้ข้อแก้ไขและเสนอแนะ ควรมีการสะท้อนข้อมูลกลับสู่ชุมชน จะทำให้ชุมชนได้ทราบสถานการณ์ในปัจจุบัน อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไป
 
          ที่สำคัญ นักวิจัยจะต้องเข้าไปร่วมทำกิจกรรมต่างๆ กับชาวชุมชน ที่ทำการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้เข้าใจวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์นั้นอย่างแท้จริง และต้องให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวิจัยในฐานะเจ้าของวัฒนธรรม ซึ่งจะทำให้ได้ผลการวิจัยที่น่าเชื่อถือ ทำให้ชาวชุมชนเกิดความรักและผูกผันกับวัฒนธรรมของตน และสามารถแก้ไขปัญหาทางวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี
 
          โดยสรุป การวิจัยข้ามวัฒนธรรมเป็นงานวิจัยที่มีความเฉพาะ ความเป็นเอกสักษณ์ของงานวิจัย โดยเฉพาะการวิจัยข้ามวัฒนธรรมในชุมชนชาติพันธุ์ จะต้องมีความอดทน ความไม่มีอคติใด ๆ และไม่เลือกปฏิบัติ ความไม่ลำเอียงในการแปลความหมายจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน กระบวนการวิเคราะห์ การ เปรียบเทียบจึงต้องมีฐานคิดที่ใกล้เคียงกัน หากการศึกษาเป็นเพียงการนำไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ย่อมมีประโยชน์อย่างมากในการพัฒนา และกำหนดนโยบาย ต่อกลุ่มชน หรือชุมชนชาติพันธุ์ที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
 
          ศึกษารายละเอียดงานวิจัยเพิ่มเติมได้ที่ การวิจัยข้ามวัฒนธรรม
ลิขสิทธิ์ของ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม สำหรับใช้ประโยชน์เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและการศึกษา
นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเว็บไซต์ | การปฏิเสธความรับผิด (Disclaimer)